วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

nasa




องค์องค์การนาซาส่งยานอวกาศมาเวน (maven) ไปดาวอังคาร

19 พฤศจิกายน 2556
องค์การนาซาได้ส่งยานอวกาศ มาเวน (Maven : The Mars Atmosphere and Volatile EvolutioN) เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2556เวลา 13:28 ตามเวลาท้องถิ่น   แหลมคานาเวอรอล ฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา รัฐฟลอริดาเพื่อไปโคจรรอบดาวอังคารยานอวกาศมาเวนได้มุ่งหน้าสู่ดาวอังคารซึ่งห่างจากโลกประมาณ  22,526 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 10 เดือน และจะเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในเดือนกันยายน 2557


ยานอวกาศมาเวนติดตั้งอุปกรณ์ Magnetometer, Neutral Gas and Ion Mass Spectrometer, Langmuir Probe and Waves, Imaging Ultraviolet Spectrometer, Solar Wind Electron Analyzer, Solar Wind Ion Analyzer, Solar Energetic Particles, Supra Thermal And Thermal Ion Composition  เพื่อใช้ในการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร  ที่มีผลจากดวงอาทิตย์  และผลกระทบที่เกิดจากลมสุริยะ


 จากหลักฐานบนดาวอังคารที่แสดงให้เห็นว่าครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยถูกห่อหุ่มด้วยบรรยากาศที่หนาแน่น  สอดคล้องกับการค้นพบหลักฐานของเหลวที่เคยไหลอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคาร  ปัจจุบันความดันของดาวอังคารที่พื้นผิวมีเหลือเพียงแค่ 0.6% เมื่อเทียบกับความดันบนพื้นผิวของโลก สภาพทางธรณีของดาวอังคารยังมีเส้นทางที่ถูกกัดเซาะของน้ำอย่างเห็นได้ชัด  ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาดาวเคราะห์ดวงนี้เคยมีบรรยากาศที่หนาแน่นมาก  ซึ่งมีคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับการสูญเสียความดันของบรรยากาศในขณะนี้ คือ ดาวอังคารผ่านช่วงเวลาการกัดเซาะจากอนุภาค  พลังงานจากดวงอาทิตย์  เกิดการรั่วไหลที่เกิดจากผลของลมสุริยะ
        ยานอวกาศมาเวน (Maven) มีกำหนดการที่จะเดินทางไปถึงดาวอังคารในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2557 เพื่อทำการศึกษาบรรยากาศและการวิวัฒนาการจากการระเหยของบรรยากาศของดาวอังคารในอดีต  เนื่องจากผลของการที่ดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กป้องกันตัวดาวเคราะห์จากรังสีคอสมิกและลมสุริยะ  ยานอวกาศมาเวนจะโคจรรอบดาวอังคารเป็นวงรีที่ระยะทางไกลสุด 6,220 กิโลเมตร และผ่านจุดที่ใกล้ตัวดาวอังคารที่ระยะทาง 150 กิโลเมตร เพื่อที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกของบรรยากาศ ภารกิจนี้ใช้เวลา  1  ปีของโลก (ครึ่งปีของดาวอังคาร
        ยานอวกาศมาเวนถูกส่งไปดาวอังคารโดยตรงซึ่งจะทำให้ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่า ยานอวกาศ มังคละยาน (Mangalyann) ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ที่ได้ทำการปล่อยยานเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา  คาดการว่ายานจะเข้าสู่วงโคจรก่อนยานอวกาศ มังคละยาน เพียงไม่กี่วัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น